Sunday 16 August 2015

how-to-jnes-famicom-emulator

1. Emulator
- เจ้าตัวนี้ก็คือโปรแกรม (Software) ที่เอาไว้จำลองเครื่องเกมต่างๆ ให้สามารถเล่นบนคอมพิวเตอร์ได้ หรือเปรียบเสมือนเครื่องเกมที่เราเอามาเล่นในคอมพิวเตอร์นั่นเอง
2. Rom
- ในเมื่อมี Emulator หรือเครื่องเกมในคอมพิวเตอร์แล้วเราก็ต้องมีตัวเกมที่จะเอามาเล่น ซึ่งก็คือ Rom นั่นเอง
ทั้งสองอย่างนี้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ อย่างเช่นใน Blog นี้เรากำลังจะสอนวิธีใช้ Jnes ซึ่งก็คือ Emulator ที่เอาไว้จำลองเครื่อง Famicom (NES) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเราได้เครื่องเล่น Famicom (Emulator ที่ชื่อว่า Jnes) มาแล้ว เราก็จำเป็นต้องมีตลับเกมด้วย ซึ่งนั่นก็คือ Rom นั่นเอง
โดยทั้ง Emulator และ Rom นั้นก็แบ่งแยกตามเครื่อง Console ของจริงนั่นแหละ เครื่อง Famicom ก็จะมี Emulator และ Rom เป็นของตัวเอง ไม่สามารถข้ามไปเล่น Rom ของ Playstation หรือ Gameboy ได้ ต่างคนต่างอยู่เหมือนกับเป็นเครื่องเกมจริงๆ อย่างไงอย่างงั้น
ถ้าเข้าใจแล้วว่า Emulator กับ Rom คืออะไรก็ไปกันต่อได้เลย 
ในวันนี้เราจะมาแนะนำ Emulator ของเครื่อง Famicom (NES) ที่ชื่อว่า Jnes 
ตอนแรกตั้งใจว่าจะแนะนำซักสองตัว แต่จริงๆ แล้วตัว Emulator ส่วนใหญ่ก็มีหลักการใช้คล้ายๆ กัน ทำไปก็จะดูเสียเวลาและซ้ำซาก เลยตัดสินใจแนะนำมันตัวเดียวพอ ซึ่งนั่นก็คือ Jnes
1. การเปิด Rom ขึ้นมาเล่น
1.1 หลังจากที่ได้โปรแกรมมาแล้วให้จัดการ Install ให้เสร็จเรียบร้อย เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะได้หน้าตาดังรูปข้างล่าง
1.2 จากนั้นให้ไปที่เมนูแล้วเลือก File > Open
1.3 จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอที่ให้เลือกเกมที่เราจะเล่น ในที่นี้ก็คือ Captain Tsubasa นั่นเอง
1.4 Double click เลือก Rom เกมที่เราจะเล่นก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย สึบาสะก็ออกมาวิ่งไล่ขับลูกบอลให้เราเห็นดังนี้
เปิดเกมปุ๊บเตรียมจะเล่น อ้าวแล้วกัน!!! ปุ่มมันอยู่ตรงไหนบ้างล่ะเนี่ย  งั้นไปดูกันต่อ
2. การตั้งค่าปุ่มบน Keyboard สำหรับเล่นเกม

2.1 ไปที่เมนูอีกรอบแล้วคราวนี้เลือก Option > Input
2.2 จากนั้นหน้าต่าง Input Configuration ก็จะโผล่ขึ้นมา
ในกรอบ Joypad layout จะเป็นการบอกว่าปุ่มไหนบนคีย์บอร์ดเราใช้งานแทนปุ่มอะไรบน joypad ของเครื่อง Famicom อย่างตอนนี้จะเห็นว่า ปุ่ม Left ใน joy ถ้าอยู่บนคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ก็จะเป็นปุ่ม Left เหมือนกัน หรือปุ่ม Start ใน joy ถ้าเป็นคีย์บอร์ดก็จะเป็นปุ่ม S แทน ถ้าเราพอใจและใช้งานได้ถนัดมือก็แล้วไปแต่ถ้าไม่ให้กดไปที่ปุ่ม "Setup" ที่อยู่ด้านบน
2.3 เมื่อกดแล้วจะเป็นดังนี้
ในช่องสี่เหลี่ยมที่เป็นตัวแทนของปุ่มบนคีย์บอร์ดจะมีสีฟ้าโผล่ขึ้นมา นั่นแปลว่าปุ่มนี้พร้อมให้เราเปลี่ยนค่าได้แล้ว
2.4 วิธีเซ็ตปุ่มที่ต้องการใช้ก็ง่ายๆให้กดปุ่มที่เราต้องการลงไปภายในเวลาที่กำหนด (ถ้ากดไม่ทันจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น)
อย่างในกรณีนี้เจ้าของบล๊อคต้องการเปลี่ยนแค่ปุ่ม Select และ Start ดังนั้นเจ้าของบล๊อคก็เลยกดปุ่มเดิม (อย่างเช่น Left เจ้าของบล๊อคก็กดปุ่มลูกศรซ้ายบนคีย์บอร์ด Right ก็กดลูกศรขวาบนคีย์บอร์ด) ให้ข้ามไปจนถึงปุ่มที่ตัวเองต้องการ เมื่อถึง Select แล้วเจ้าของบล๊อคจึงกดปุ่ม Backspace และสำหรับ Start เจ้าของบล๊อคกดปุ่ม Enter ดังนี้
แก้ไขเรียบร้อยแล้วก็กดปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึก (แต่เครื่องเจ้าของบล๊อคเป็นอะไรก็ไม่รู้ กด OK แล้วหน้าต่างไม่ปิด ต้องกดจนเวลาหมดมันถึงจะจำค่าที่เปลี่ยน ถ้าใครกดปุ่ม OK แล้วหน้าต่างไม่ปิด ก็กด OK ย้ำๆ ไปจนกว่าเวลาจะหมด) 
แค่นี้ก็เล่นได้แล้วแต่ว่า...ถ้าเล่นๆ ไปแล้วเกิดต้องออกไปทำธุระข้างนอก ถ้าเป็นเครื่อง Famicom จริงๆ เราคงต้องปิดเครื่องไปทั้งน้ำตาเพราะเมื่อกลับมาก็ต้องเริ่มเล่นใหม่ตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเราใช้ Emulator ปัญหานั้นจะหมดไป เมื่อเราสามารถ "Save" และ "Load" กลับมาเล่นใหม่ได้
3. วิธี Save และ Load เกม
โดยปรกติแล้ว Emulator จะให้ Slot สำหรับเซฟเกมมาหลาย Slot เหมือนกัน นั่นคือเราสามารถเซฟเกมได้หลายตำแหน่งมากขึ้น Jnes ก็เช่นเดียวกัน
3.1 เมื่อต้องการจะเซฟเกม ก่อนอื่นให้เลือก Slot ที่จะทำการเซฟก่อน 
โดยไปที่เมนู System > State slot แล้วเลือก Slot ที่ต้องการ ถ้าตามรูปเจ้าของ Blog ก็เลือก Slot 1
3.2 เมื่อเลือกแล้วจากนั้นก็ Save ได้ โดยไปที่เมนู System > Save หรือกด F5 ก็ได้เหมือนกัน
3.3 เมื่อเซฟเรียบร้อยมาดูใน Slot ที่เราเลือกไว้ จากเดิมที่ว่างๆ จะเห็นวันเวลาที่เซฟโผล่ขึ้นมาแล้ว นั่นแสดงว่าข้อมูลเกมของเรา ถูกเซฟไว้เรียบร้อย
3.4 ต่อไปเมื่อเราต้องการจะเปิดเล่นเกมต่อจากที่เคยเซฟไว้ ก่อนอื่นเลยต้องเปิดเกมขึ้นมาก่อน (ขอย้ำว่าต้องเปิดขึ้นมาก่อน)
จากนั้นจึงค่อยไปที่ System > State Slot เลือก Slot ที่มีข้อมูลเกมที่ถูกเซฟไว้เหมือนรูปในข้อ 3.3
จากนั้นไปที่ System > Restore หรือกด F7 เกมใน Slot ที่เราเลือกก็โผล่มาให้เราได้เล่นต่อ
Emulator ส่วนใหญ่ก็จะมีฟังก์ชันการใช้งานมาตราฐานประมาณนี้แหละ ถ้าลองใช้เป็นซักตัวนึงแล้วตัวอื่นๆ ก็ไม่ยากเพราะวิธีใช้งานและหน้าตาก็คล้ายๆ กันไม่ว่าจะเป็น Snes, GBA หรือ PS จะมี Emulator แบบเหนือๆ หน่อยอย่าง Mame ซึ่งต้องลง Plugin เพิ่มเติม ซึ่งตัวนี้เราคงไม่พูดถึง
source

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment