Tuesday, 16 February 2016

ยืนยันทฤษฎีไอสไตน์ กับการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง !!


เรียกได้ว่าเป็น 1 ในกระแสสุดฮือฮาของโลกเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางศูนย์วิจัย LIGO(Laser Interferometer Gravitational-Wave Observatory) ได้มีเปิดการถ่ายทอดสดแถลงข่าวยืนยันการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงเป็นครั้งแรก ของโลก ซึ่งเจ้าคลื่นความโน้มถ่วงตัวนี้นั้นถือว่าเป็น 1 ในการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ แถมการค้นพบครั้งนี้ยังเชื่อมโยงไปถึงการค้นพบหลุมดำคู่ที่โคจรรอบกันเองอีก ด้วย โดยเราจะขอเรียบเรียงจากอาจารย์เจษดา และนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น ๆ ให้ท่านเข้าใจได้มากที่สุดนะครับ

คลื่นความโน้มถ่วงคืออะไร ?

คลื่นความโน้มถ่วงคือการเคลื่อนไหวบนกาลอวกาศ โดยเปรียบเทียบเหมือนกับเราปูผ้าห่มขนาดยักษ์ เมื่อเราทำการโยนสิ่งใด ๆ ลงไป ก็จะเกิดการกระเพื่อมขึ้น ซึ่งถ้าสิ่งที่โยนยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ การกระเพื่อมก็จะยิ่งใหญ่ขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งทำให้ทุกสิ่งที่อยู่รอบ ๆ การบิดเบี้ยวและถ้าคุณเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงผ่านจุด ๆ นั้นก็จะเกิดการหักเหกลายเป็นวงกลมแทน เทียบง่าย ๆ คือโลกรวมไปถึงดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ของสุริยจักรวาลเราที่กำลังหมุนรอบดวงอาทิตย์ก็เป็น 1 ในสิ่งที่เกิดจากคลื่นความโน้มถ่วงที่ดวงอาทิตย์กระทำออกมา โดยคลื่นนี้จะสามารถดึงดูดได้แม้กระทั่งแสงที่ไม่มีมวล ซึ่งต่างจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่ไม่สามารถดึงดูดแสงให้โค้งงอได้
ซึ่งแน่นอนว่านักวิทยาศาสตร์หลาย ๆ คนนั้นเชื่อว่าเจ้าคลื่นความโน้มถ่วงนั้นมีอยู่จริง แต่ยังไม่มีใครสามารถหาหลักฐานเพื่อค้นพบมันได้

แล้วค้นพบได้อย่างไร ?

แต่แล้วทางทีมวิจัยจาก MIT และ Caltech ร่วมมือกันสร้างสร้างศูนย์วิจัยขึ้นมาในลักษณะคล้ายตัว L ในชื่อ หอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงโดยเลเซอร์อินเตอร์เฟอโรเมทรี (the Laser Interferometer Gravitational-wave Observatory) หรือ LIGO เพื่อดักจับเจ้าคลื่นความโน้มถ่วงนี้จากสถานที่ห่างไกลหลายล้านปีแสง ซึ่งการค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นจากบิดเบือนของแหล่งพลังงานขนาดมหาศาลจากหลุม ดำ 2 ดวงโคจรรอบกันด้วยความเร็วมหาศาลรวมตัวเข้าด้วยกันแล้วเกิดระเบิดจนสร้าง คลื่นความโน้มถ่วงออกมาถึงโลกเราได้
ซึ่ง ณ ปัจจุบัน LIGO ยังมี sensitivity เพียงแค่ 1 ใน 3 ของที่ควรจะเป็นเพียงเท่านั้น และ LIGO ยังสามารถพัฒนาเครื่องมือได้อีก จึงมีโอกาสที่จะตรวจพบปรากฏการณ์อื่นได้อีกมาก   อ่านต่อ
                       ที่มา beartai

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment