Friday 5 August 2016

พบดาวเคราะห์แคระดวงใหม่ของระบบสุริยะOSSOS

พบดาวเคราะห์แคระดวงใหม่ของระบบสุริยะOSSOS
นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย แคนาดา และทีมวิจัยจากนานาชาติ ค้นพบดาวเคราะห์แคระที่โคจรอยู่นอกวงโคจรของดาวเนปจูนดวงใหม่
วัตถุ ดวงใหม่ที่ค้นพบนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงแค่ 700 กิโลเมตร หรือประมาณ 1.5 เท่าของขนาดเกาะแวนคูเวอร์ เป็นดาวเคราะห์แคระที่มีวงโคจรที่ใหญ่ที่สุด โดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งชื่อว่า 2015 RR245 ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์ของแคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวาย ที่เกาะฮาวาย ภายใต้โครงการสำรวจจุดกำเนิดระบบสุริยะวงนอก (OSSOS)
"การค้นพบดาว เคราะห์แคระดวงใหม่นี้จะทำให้เราเข้าใจการก่อตัวขึ้นของดาวเคราะห์ในยุคแรก ต่อไป เนื่องจากโลกน้ำแข็งเล็กๆเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเล็กและมีแสงจ้ามาก การค้นพบดาวที่จะพอจะสว่างอยู่บ้างจึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น และดาวดวงนี้ยังมีวงโคจรที่น่าสนใจอีกด้วย" เบรตต์ แกลดแมน นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย เผย
RR245 ถูกค้นพบครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2016 โดย เจเจ คาเวลาร์ส นักดาราศาสตร์ที่สมาคมวิจัยแห่งชาติ แคนาดา ทั้งนี้ โครงการ OSSOS มีคอมพิวเตอร์ทรงพลังหลายเครื่องที่ใช้ในการล่าดาวเคราะห์จากภาพถ่าย และคาเวลาร์สก็สามารถค้นพบวัตถุสว่างดวงหนึ่งที่กำลังเคลื่อนที่ช้าๆ ที่ระยะห่างประมาณ 2 เท่าของระยะจากโลกถึงดาวเนปจูน หรือคิดเป็นประมาณ 120 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบขนาดของดาว RR245 อย่างแน่ชัด รวมถึงสภาพผื้นพิวของดาวยังคงเป็นปริศนาอยู่
"ถ้าไม่เล็กแต่สว่าง ก็ใหญ่แต่มืด อย่างใดอย่างหนึ่ง" มิเคล แบนนิสเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย เผย
ทั้ง นี้ ดาวเคราะห์แคระหลายดวงถูกทำลายหรือถูกเหวี่ยงออกไปสู่วงนอกของระบบสุริยะ ด้วยแรงจากดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่อยู่วงใน ดาว RR245 ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่อยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ เช่นเดียวกับพลูโต และเอริส ซึ่งจัดว่าเป็นดาวเคราะห์แคระที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ ดาว RR245 นั้นมีโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ส่วนใหญ่แล้วจะมองไม่ค่อยเห็นเพราถูกบังจาก สะเก็ดดาวดวงเล็กๆ หลายหมื่นดวงรอบนอกดาวเนปจูน
จากข้อมูลของยานนิวฮอไรซัน ขององค์การการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือนาซ่า ชี้ว่า ดาวที่อยู่รอบนอกมักจะอุดมไปด้วยสสารในสถานะของแข็ง ซึ่งดาวดวงนี้ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นด้วย ส่วนวงโคจรของดาว RR245 นี้มีลักษณะเป็นวงรีมาก ซึ่งน่าจะเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่ 100 ล้านปีก่อน มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไกลที่สุด 12 พันล้านกิโลเมตร (80 หน่วยดาราศาสตร์) และจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดคิดเป็นระยะ 5 พันล้านกิโลเมตร (34 หน่วยดาราศาสตร์) ในราวปี 2096
คาดว่า การโคจรครบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบจะกินเวลานานถึง 700 ปี ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่มีใครทราบที่มาและวงโคจรจะเป็นอย่างไรต่อไป และในอนาคตนักวิทยาศาสตร์จะสำรวจดาวดวงนี้มากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่มีการตั้งชื่อดาวอย่างเป็นทางการแล้ว
อ้างอิง: University of British Columbia. (2016, July 11). Astronomers discover new distant dwarf planet beyond Neptune. ScienceDaily. Retrieved July 17, 2016 from www.sciencedaily.com/releases/2016/07/160711150825.htm

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment