ในการทำ SEO ให้กับ Facebook Page (หรือที่นิยมเรียกกันว่า Fan Page) นั้น ไม่ได้ทำกันง่ายๆ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการอัพเดท Algorithm ใหม่ล่าสุดของ Google ที่เน้นไปที่ Quality หรือ คุณภาพ เป็นสำคัญ เฉกเช่นเดียวกันกับการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์
อีกทั้งในปัจจุบัน Google มีการจำกัดจำนวนการแสดงผลของ Facebook Page บนหน้า SERPs (เท่าที่ผมสังเกตเห็น คือ จะแสดงเพียงสูงสุดไม่เกิน 3-4 เพจ) และเริ่มมีการแสดงผลการค้นหาที่มาจาก Social Media ตัวอื่นๆ เช่น Twitter , Instagram , Pinterest ทั้งๆที่ไม่ค่อยจะเคยได้เห็นในอดีตที่ผ่านๆมา เหมือนมันบ่งบอกเป็นนัยยะ ถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ของวิธีการจัดอันดับบนหน้า Google
แน่นอนว่า การทำ SEO Facebook Page ทำได้ยากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ !!
เพราะเพจของผม และเพจของเพื่อนๆอีกหลายคน … ก็ยังคงติดอันดับกันดีอยู่ (บางเพจติดอันดับ TOP เสียด้วย แซงเว็บไซต์หมด) สาเหตุเพราะ เพจนั้นอยู่ระดับ TOP Quality ในสายตาของ Google นั่นเอง
วันนี้ผมจะมาขออธิบายและเปิดเผยเทคนิคว่า “ทำอย่างไร ให้ Facebook Page มีคุณภาพในสายตา Google”
โดยอาศัยสิ่งสำคัญ 2 ส่วนคือ
1. ผลจากการนั่งดูและวิเคราะห์เฟสเพจมากมาย (ผมนั่งเช็คดูหลายร้อยคีย์เวิร์ด หลายร้อยเพจ)
2. จากประสบการณ์ส่วนตัว ที่ได้เคยทดลองทำดูแล้วได้ผล!!
โดยเนื้อหาจะมีหัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้
• พื้นฐานการทำ SEO ให้กับ Facebook (Fan) Page ในอดีต
• การทำ SEO ให้กับ Facebook Page ในปัจจุบัน
• 4+1 จุดสำคัญในการทำ Facebook Onpage SEO
• การทำ Offpage SEO เบื้องต้น ให้กับ Facebook Page
• ทำ SEO ให้กับ Facebook Page แล้วทำไมถึงไม่ติดอันดับ ?
• ถ้า Facebook Page อันดับหาย มีวิธีแก้ไขอย่างไร ?
#คำเตือน : บทความนี้ยาว(ไม่)หน่อยนะครับ (ยาวมาก) เพราะหวังว่าจะให้ CLEAR และเป็นประโยชน์ที่สุด
เนื่องจากมีหลายท่านสอบถามเข้ามา ดังนั้นอ่านครั้งเดียว จบ!! ไม่ต้องถามต่อ … ไปลองทำดูเลยนะ
พื้นฐานการทำ SEO ให้กับ Facebook (Fan) Page ในอดีต
เมื่อ 2 ปีก่อน ตอนนั้นผมเริ่มหัดทำ SEO ใหม่ๆ Keyword แรกๆที่ผมทำ คือ “ล้างพิษตับ” … ในสมัยนั้นจำได้ว่า มีเพจมากมายของ ค่าย/คอร์สล้างพิษ ที่ติดอยู่บนหน้า Google ทั้งๆที่บางรายไม่มีเว็บไซต์ด้วยซ้ำ
ในเวลาต่อมา เมื่อทำ SEO หลากหลาย Keyword มากขึ้น สามารถพูดได้ว่าเกือบจะ 80% ของ Keyword ( โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คีย์ภาษาไทย) ที่ผมเช็คดูอันดับต้นๆในหน้าแรก Google ล้วนแล้วแต่เป็น Facebook Fan Page แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า หรือ บริการต่างๆ
เมื่อผ่านสายตามากเข้า ผมก็นั่งดูและวิเคราะห์ว่า เหตุใดบรรดาเพจเหล่านั้นจึงติดอันดับบน Google ซึ่งหลังจากพอจับจุดได้ ก็ลองนำมาทดลองปรับใช้ดูเองบ้าง และมันก็ให้ผลตอบรับกลับมาดีมากทีเดียว
เทคนิคพื้นฐานทั่วไป ในการทำ SEO ให้กับ แฟนเพจ (ในอดีต)
• การตั้งชื่อเพจ โดยใช้ Keyword [เป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุด]
• การลง Information ต่างๆอย่างถูกต้องและครบถ้วน [about]
• การใส่ Description แบบเต็มที่ ชัดเจน พร้อม Keyword [about]
• การหมั่นอัพเดทข้อมูล ที่สอดคล้องกับ Keyword [post]
• การใช้ Hashtag ที่เหมาะสม [post]
• การใส่ Keyword ลงใน คำแรก/บรรทัดแรก/พารากราฟแรก [post]
• การอัพรูปภาพใส่ Page [post]
• การเขียน Note (บันทึก) ใส่ใน Page [app]
• การสร้าง Engagement กับ Audience
• การเขียน Review , Comment ใน Page
ผมอยากเขียนอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับเทคนิคพื้นฐานการทำ SEO Facebook มานานแล้ว (และตั้งใจจะโพสเมื่อเดือน 2 ก่อน) แต่รู้สึกไม่มั่นใจ เพราะสังเกตความผิดปกติในการแสดงผลบน SERPs จากหลายๆ Keyword วันนี้ผมเลยขอ ปรับเนื้อหาใหม่ ให้เข้ากับการอัพเดทล่าสุดของ ► Google – The Quality Update
การทำ SEO ให้กับ Facebook Page ในปัจจุบัน
จากสาเหตุคือ 1. Quality Update และ 2. Limited Facebook Page บนหน้า SERPs
ส่งผลให้ ทำ SEO กับ Facebook Page ไม่ง่ายแบบในอดีต เพราะคุณจำเป็นที่จะต้องทำให้เพจ อยู่ในระดับ Top Quality #1 #2 #3 #4 จากเพจทั้งหมดของ Keyword นั้นๆในสายตาของ Google … มันถึงจะยอมแสดงผลการค้นหาให้
พูดแบบง่ายๆได้ว่า หากเฟสบุ๊คเพจคุณ Google มองแล้วมีคุณภาพต่ำกว่าคู่แข่งที่เป็นเพจด้วยกัน คือต่ำกว่าอันดับที่ 4 ในสายตามัน เพจคุณหมดสิทธิ์ขึ้นหน้า Google … ซึ่งนี่เป็นนัยยะที่บ่งบอกเราว่า นอกเหนือจากคู่แข่งที่เป็น Website อื่นๆ คู่แข่งตัวสำคัญที่สุดของคุณ ณ ตอนนี้ คือ Facebook Page ด้วยกันนี่แหละ !!
ดังนั้นแทนที่เราจะมุ่งเป้าไปที่โจทย์แบบเดิมๆ ที่ว่า “วิธีทำ SEO Facebook Page ทำอย่างไร ?”
ควรเปลี่ยนใหม่เป็น “วิธีทำ Facebook Page ให้มีคุณภาพ (สูงสุดในสายตา Google) ทำอย่างไร ?”
ซึ่งหากพยายามมอง Facebook Page ให้เหมือนกับ Website จะพบว่ามันมีองค์ประกอบสำคัญๆที่คล้ายกัน
1. Title หรือ ชื่อเพจ – เทียบได้กับ Title ที่เราเขียนใส่ในหน้าเว็บไซต์
2. Main Menu – เทียบได้กับเมนูบนเว็บไซต์ แต่บนเฟสเพจจะประกอบไปด้วย
• Timeline (ไทม์ไลน์) – เทียบได้กับ เมนู HOME (หน้าแรก) ในเว็บไซต์
• About (เกี่ยวกับ) – เทียบได้กับ เมนู About ในเว็บไซต์
• Photos (รูปภาพ) – เทียบได้กับ เมนู Gallery ในเว็บไซต์
• Likes (ไลค์) – อาจเทียบได้กับตัวนับสถิติ ของเว็บไซต์
• More (เพิ่มเติม) – ในที่นี้อาจจะเห็น Notes, Videos, App ก็นับว่าเป็นเมนูบนเว็บไซต์
3. Main Content – เทียบได้ เนื้อหา หลักในเว็บไซต์
4. Sidebar – เทียบได้กับ Sidebar ในเว็บไซต์ ซึ่งถือเป็น Supplementary Content ในที่นี้ มี
• Likes
• About
• Photos
• Videos
• Notes
• Visitor Posts
• Reviews
• App อื่นๆ
โครงสร้างเพจ ใช่แล้วครับ! ผมกำลังพูดถึง “การทำ Onpage SEO ให้กับ Facebook Page”
เว็บไซต์ที่มีคุณภาพ จากการปรับแต่ง Onpage SEO มีผลต่อการจัดอันดับของ Google ฉันใด การปรับแต่ง Onpage ให้กับ Facebook ก็มีผลฉันนั้น
Onpage SEO ที่ทำกับเว็บไซต์นั้น ส่วนตัวสำหรับผม แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1. SEO Onpage Basic Technique (การปรับจุดสำคัญๆพื้นฐานของหน้าเว็บ รวมถึงโครงสร้างเว็บ)
2. SEO Onpage Content (การปรับแต่งเนื้อหาบทความ – การเขียนบทความให้รองรับ SEO)
สำหรับ Facebook Page ก็มีหลักการเช่นเดียวกัน (แต่อาจมีบางส่วนที่แตกต่างไปบ้าง)
[รออ่าน In-depth Onpage SEO เว่อร์ชั่นสำหรับ Website ในโอกาสต่อไป]
4+1 จุดสำคัญในการทำ Facebook Onpage SEO
1. Page Title (ชื่อเพจ)
การตั้งชื่อเพจ ถือเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด อันดับ #1 ในการช่วยทำให้ Google เข้าใจได้ว่า เพจของเราเกี่ยวกับอะไร ดังนั้น หากเราต้องการทำ SEO ให้กับเฟสเพจ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องแทรก Keyword (คำค้นหา) ลงไปในชื่อเพจด้วย และที่สำคัญคือ นอกเหนือจากจะมีผลต่อ Google แล้ว ยังมีผลต่อ Search บนตัว Facebook เอง (การค้นหาจากเฟสบุ๊คโดยตรง)
ในการตั้งชื่อเพจนั้น หากคุณตั้ง เพื่อหวังให้มีผลเพียงอันดับบน Google โดยไม่คำนึงถึง เรื่องการสร้างแบรนด์ ถือว่าคุณไม่ได้มองในระยะยาว ดังนั้นการตั้งชื่อบนเฟสบุ๊คเพจที่ดี ให้รองรับ SEO ควรจะมีรูปแบบคือ
[ Facebook Page Title = Keyword + Brand (or Keyword in Brand) ]
Keyword คือ คำที่คิดว่าคนจะใช้ในค้นหา อาจจะเป็น ประเภทของสินค้า หรือ บริการของเรา หรือเว็บไซต์
Brand คือ ชื่อร้าน ชื่อธุรกิจ ชื่อสินค้า ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้คนจดจำเราได้ง่ายๆ
ยกตัวอย่างเช่น
Facebook Page Title = คนทำเว็บนอกคอก – WebBastard.Net
Keyword = คนทำเว็บ
Brand = WebBastard.Net (ในที่นี้คือชื่อเว็บ)
Google SERPs Rank (co.th) = #7
Facebook Page Title = บ้านสุขภาพล้างพิษตับ
Keyword = ล้างพิษตับ
Brand = บ้านสุขภาพล้างพิษตับ
Google SERPs Rank (co.th) = #2
Facebook Page Title = ตัวตลก โบโซ่ โบโซ่บิดลูกโป่ง Pok Rednose
Keyword = ตัวตลกโบโซ่ , โบโซ่บิดลูกโป่ง
Brand = Pok Rednose
Google SERPs Rank (co.th) = #1 , #6
Facebook Page Title = ศูนย์รวม ปั๊มน้ำ ถังเก็บน้ำ แท้งค์น้ำ PPWater.Com
Keyword = แท้งค์น้ำ (ปั๊มน้ำ , ถังเก็บน้ำ ไม่ติดอันดับ)
Brand = PPWater.Com
Google SERPs Rank (co.th) = #1
Facebook Page Title = เครื่องเย็บกล่อง ลวดเย็บกล่อง ลวดเย็บกระดาษ – Koo E Hah
Keyword = เครื่องเย็บกล่อง ลวดเย็บกล่อง (ลวดเย็บกระดาษ ไม่ติดอันดับ)
Brand = Koo E Hah
Google SERPs Rank (co.th) = #3 , #3
ถ้าคิดจะทำ SEO บน Facebook Page หากคุณไม่ได้ใส่ Keyword ในชื่อ Title โอกาสจะทำอันดับได้บน Google (หรือ ค้นหาโดยตรงบน Facebook) แถบจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
แต่กรณีที่คุณไม่ได้หวังทำ SEO กับ Facebook Page แต่จะไปเน้น SEO บน Website แทน หรือคุณมีงบในการลงโฆษณา หรือกรณีธุรกิจหรือร้านหรือแบรนด์ของคุณนั้น มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว อันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ Keyword ลงในชื่อเพจ ให้ใส่เฉพาะ ชื่อ Brand / ชื่อร้าน เลยก็ได้
#Tip 1 : กรณีธุรกิจที่เปิดใหม่ ยังไม่ดัง คนยังไม่รู้จัก คุณควรจะใส่ Keyword ที่เป็นตัวประเภทของสินค้าหรือบริการ ลงไปด้วย ภายหลังหากเมื่อแบรนด์เราเป็นที่รู้จักแล้ว อาจจะมาทำการเปลี่ยนชื่อใหม่ในภายหลัง
#Tip 2 : กรณีมีคู่แข่งจำนวนมาก คุณอาจจะ โฟกัสไปที่ Long Tail Keyword (Keyword หลายพยางค์) หรือ ระบุ Location ลงไป เช่น xxxxx จังหวัด หรือ ระบุคำให้เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น xxxxxx มือสอง , xxxxxx ราคาถูก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ควรตั้งชื่อ ยาวจนเกินไป (Facebook จำกัดให้ตั้งชื่อได้สูงสุด 50 characters)
#Tip 3 : ในอดีตคุณไม่สามารถเปลี่ยนชื่อเพจได้ หากยอด Page Likes เกิน 200 แต่ในปัจจุบัน คุณสามารถเปลี่ยนชื่อ Facebook Page ได้ง่ายขึ้น เพียงเข้าไปแก้ไขตรง Page Name ใน About แล้วรอการอนุมัติจาก Facebook ภายใน 7 วัน
2. About (ข้อมูลเพจ)
การใส่ข้อมูลของเพจ (Page Info) ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่มองข้ามไปไม่ได้เช่นกัน เพราะเนื่องจากจะส่งสัญญาณบอก Google แล้ว ยังช่วยให้ Audience (คนดู) รู้จักเราหรือธุรกิจของเรา มากยิ่งขึ้น โดยส่วนที่สำคัญๆที่ต้องเน้น คือ
– Facebook Web Address (URL)
– Short Description
– Long Description
– Email
– Website
– Phone (กรณีเป็น Business)
– Address (กรณีเป็น Business)
#Tip : สำหรับ Page Info ยิ่งเราให้ข้อมูลมากเท่าไหร่ Search Engine (รวมถึงคนดู) ก็ยิ่งรับรู้ได้มากเท่านั้น แต่ตัวสำคัญที่เน้นเป็นพิเศษคือ Short Description ควรเขียนให้กระชับ ได้ใจความ และมี Keyword รวมอยู่ด้วย เพราะมันจะโชว์ อยู่บนหน้า Timeline ใน Sidebar ด้านข้าง
3. Timeline (ไทม์ไลน์) [ในที่นี้คือ โพส]
Timeline บนเฟสบุ๊คเพจ เปรียบเสมือน หน้า Homepage ถ้ามองเทียบกับ Website ปกติ ผมมองว่ามันมีลักษณะ คล้ายๆกับ One-Page Designed Website (คือ เว็บที่มีหน้าเดียว เวลาดูข้อมูลจะเลื่อนลงมาเรื่อยๆ ไม่ใช่ Multi-Page แบบเว็บทั่วไป One-Page Website เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เหตุเพราะมันเหมาะกับการดูบนมือถือ)
การที่เราโพส เนื้อหาอะไรก็ตาม ลงไปบน Facebook Page ย่อมส่งสัญญาณให้กับ Google แทบทั้งสิ้น เพราะถือเป็น Main Content หลัก ที่บ่งบอกได้ว่า เพจของเราเกี่ยวกับอะไร ดังนั้น เราต้องฉลาดที่จะโพส โดยผมขอแนะนำ แยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
3.1 ภาพรวมของโพสทั้งหมด (ฉันจะโพสอะไรดี ?)
ถ้าเมื่อใดก็ตามคุณพูดถึงเรื่อง “SEO” ข้อให้นึกถึงคำว่า “Relevance” มาก่อนเป็นอันดับแรก นั่นคือ ต้องมีความสอดคล้อง หรือ ความเกี่ยวข้อง ต่อ “Query” (คำค้นหา – ในภาษา Google) หรือคนทำ SEO เรียกกันว่า “KEYWORD“
Content ที่เราจะโพส ควรจะมีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับ Keyword หรือมองให้กว้างขึ้นหน่อย คือให้มีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับธุรกิจ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าต้องเกี่ยวข้องในทุกๆโพส แต่ขอให้มีแนวโน้มเกี่ยวข้องอยู่ในกลุ่มของธุรกิจ หรือ Keyword หรือ สินค้า ของเรา โดยผมจะแนะนำลูกค้า เกี่ยวกับ “จะโพสอะไรดี” แบบเข้าใจง่ายๆ ดังนี้
– Main Post/Money Post : ควรมีโพสเขียนแนะนำกรณีขายสินค้า/บริการต่างๆ ที่เป็นภาพรวม (คล้ายๆเป็นสารบัญหรือ Introduction) พร้อมลงข้อมูลติดต่อต่างๆให้ครบถ้วน … กรณีจุดประสงค์ คือ ต้องการให้คนเข้าเว็บ Main Post ก็คือลิงค์ที่โพสแชร์ไปยังเว็บของเรานั่นเอง
– Product/Portfolio Post : ควรลงรูปภาพสินค้าหรือผลงานการบริการ พร้อมเขียนคำอธิบาย สั้นๆประกอบ สิ่งนี้จะช่วยเพิ่ม Trustworthy (ความน่าเชื่อถือ) ทั้งต่อสายตาคนดู และ Search Engine ด้วย โดยอาจจะสร้างเป็น อัลบัม หรือ จะไม่สร้างก็ได้ แต่อย่าลืมคำอธิบายประกอบ เพราะหากโพสเฉยๆ คนดูรู้ แต่ Google ยังไม่ฉลาดพอที่จะเข้าใจรูปภาพได้
– News/Event/Review Post : หากมีข่าวสาร กิจกรรม ที่เกี่ยวกับกับธุรกิจเราโดยตรง หรือ เรามีการจัดกิจกรรม อีเว้นท์ต่างๆ เช่น Promotion สินค้า, เล่นเกมแจกรางวัล เป็นต้น หรือ การนำรีวิวจากลูกค้ามาเผยแพร่ โพสในลักษณะจะช่วยสร้าง Engagement ให้กับคนดูได้เป็นอย่างดีทีเดียว
– Related Post : การที่เราโพสเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของเราเพียงอย่างเดียว อาจจะขาดสีสัน และทำให้รู้สึกอารมณ์เหมือน Hard Sale มากจนเกินไป หรือไม่ก็อาจจะทำให้ขาดการอัพเดท เพราะเนื้อหาหมด!! (หมดมุขว่างั้น) ดังนั้น การรู้จักหาและแชร์ Content จากเพจอื่น ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเรา ก็จะช่วยทำให้เพจมีความเคลื่อนไหวได้ โดยควรเลือก โพสต่างๆที่มันมีประโยชน์ต่อคนดูด้วย ที่สำคัญคือให้เกี่ยวข้องกับ Keyword / สินค้า / บริการ / ธุรกิจ ของเพจเรา หรือ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเพจ
– Misc Post : โพสประเภทที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราโดยตรง แต่อาจจะโพสเพื่อช่วยสร้างภาพลักษณ์-ภาพพจน์ หรือทำให้คนอ่านรู้สึกดี เช่น โพสทักทาย แชร์คำกลอน คำคม แชร์ภาพสวยๆ แชร์ธรรมะ หรือ แชร์โพสเทศกาลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการสร้างสีสันให้กับเพจของเรา
#Tip : การเลือกโพสเนื้อหาลงในเพจนั้น ควรคำนึงถึง คนดู เป็นหลัก และให้มีความเหมาะสมกับตัวเราหรือธุรกิจของเราเป็นสำคัญ โดยยึดหลัก Relevance / Trustworthy / Useful / Helpful / Feel-Good
3.2 รายละเอียดในแต่ละโพส (เทคนิคการโพส ให้รองรับ Facebook SEO)
เมื่อพอรู้ภาพรวมของโพสที่จะนำมาลงในเพจแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อคือการมาดูในรายละเอียดของแต่ละโพส ซึ่งในส่วนนี้ ถือเป็นเทคนิคของใครของมัน ไม่มีข้อจำกัดตายตัว แต่ที่ผมนิยมใช้ (ดูตัวอย่างเอามาประยุกต์จากหลายๆเพจ) มีดังนี้
– ใน 1-2 บรรทัดแรกของโพส ควรจะมี Keyword อยู่ด้วย โดยอาจจะติดเป็น Hashtag เพื่อเน้น หรือเป็น Text ธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นใช่ว่าจำเป็นต้องมี Keyword ในทุกๆโพส แต่ให้ดูตามความเหมาะสมกับเนื้อหาในโพสนั้น
– ในโพสแต่ละโพสควรจะมี หัวข้อ หรือ Topic หรือ Post Title อยู่ด้วย เพื่อให้สะดุดตา (ทั้งนี้ดูตามความเหมาะสม)
– และควรจะมี Post Intro ที่เป็น Text Message สั้นๆประมาณ 1-3 บรรทัด เหมือนเป็นคำอธิบายเสริม
– ในการแชร์รูปภาพ หรือ แชร์ลิงค์ อาจจะใส่ Text รวมไม่เกิน 4 บรรทัด เพื่อให้ดูกระชับ (ไม่มี See More เน้น See Click)
– ทั้ง Post Title และ Post Intro เป็นส่วนหนึ่งของ ► Content Marketing และต้องอาศัยทักษะของ Copywriter ถ้าฉลาดในการสร้างสรรค์ มันจะช่วยทำให้คนสนใจโพสเรามากขึ้น
– อย่า!! Spam/Stuffing Hashtag และควรติด Hashtag ให้เหมาะสมกับ Post นั้นๆ (ไม่ใช่ดูที่เพจนะ ดูเนื้อหาที่โพส)
– ดูคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ► การใช้งาน Facebook Hashtag
– หากโพสไหน จำเป็นต้องเขียนแบบยาวๆ ควรจัดวางเนื้อหาให้ง่ายต่อการอ่าน (จัดพารากราฟ ขึ้นบรรทัดใหม่ เว้นวรรค)
#Tip : พยายามแทรก Keyword (แบบเนียนๆ) ลงไปในโพสส่วนใหญ่ที่เป็น Main Post / Product-Portfolio Post เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้กับ Google รับรู้มากยิ่งขึ้นว่าเพจเราเกี่ยวข้องกับอะไร
4. Photos (รูปภาพ)
ในอดีตผมเคยคิดว่า รูปภาพ นั้นไม่สำคัญ และไม่มีความจำเป็น และเชื่อว่าคนทำ SEO กับ Facebook Page หลายๆคนก็คงจะมองข้ามจุดนี้ไปเช่นกัน แต่ผมขอบอกแบบ “ฟันธง” ตรงนี้เลยว่า ในปัจจุบัน
“เพจที่มีการอัพรูปภาพ Image ลงเยอะๆ มีแนวโน้ม ที่จะทำถูกจัดอันดับได้ดีกว่าเพจที่มีรูปน้อย”
สาเหตุที่ผมกล้าพูดได้แบบนี้ เพราะ จากการนั่งดูและวิเคราะห์เพจเป็นร้อยๆเพจ พบว่ามันมีแนวโน้มเช่นนั้นจริงๆ (หากไม่เชื่อ ลองเช็คดูกันเองนะครับ) Facebook Page ส่วนใหญ่ที่ถูก Google เลือกนำมาแสดงบน SERPs ล้วนแล้วแต่ มีการอัพโหลดรูปใส่ลงในเพจกัน เป็นจำนวนมากพอสมควรทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพสินค้า, รูปภาพผลงาน, รูปรีวิว และ รูปต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (เรื่องอัพรูปภาพลงเพจ แน่นอนว่า ผมได้ทดลองทำดูแล้ว และมันก็ได้ผลเป็นอย่างดีจริงๆนะ)
#Tip : ลงรูปเยอะๆ ที่เกี่ยวข้องกับเพจของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับธุรกิจประเภทบริการ การลงผลงานที่ผ่านมา นอกจะมีส่งผลดีต่อ SEO แล้ว ยังช่วยสร้าง Trustworthy ความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ในสายตาของคนจริงๆด้วย
+1 ปัจจัยเสริมอื่นๆ
– URL Page (Url ของเพจ) : ใครยังไม่ได้ตั้งชื่อ URL ของเพจ แนะนำให้ตั้ง เพื่อนำไปใช้ในการโปรโมทได้ง่ายขึ้น
– Visitor Post (โพสจากผู้เยี่ยมชม) : ควรที่จะตรวจสอบ โพสจากผู้เยี่ยมชม อย่างสม่ำเสมอ โดยกรองให้มีแนวโน้ม เกี่ยวข้องกับเพจเรา เพราะ Google Indexed หน้ารวม Visitor Post ด้วย ไม่ว่าจะชม จะติ จะสอบถาม หรือ ฝากเพจโฆษณา ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับ Purpose of Page คือคนละสายงาน คนละวงการกับเรา ก็ Hide , Delete , หรือ Ban ได้เลย
– Likes (จำนวนยอดไลค์) : ไม่มีผลต่อการทำ SEO ทางตรง แต่มีผลทางอ้อมคือ มันจะทำให้มีโอกาสคนเห็นโพสเรามากขึ้น โดยไม่ต้องลงโฆษณา ซึ่งช่วยให้เกิด Post Engagement ได้ง่ายขึ้น
– Note (บันทึก) : ถ้าจำเป็นต้องเขียนอะไรที่ยาวมากๆ ควรจับไปใส่ใน Note แทนการ “Post” ปกติ การเขียน Note มีผลต่อ การทำ Facebook SEO ในอดีตพอสมควร … แต่ปัจจุบัน ความสำคัญได้ลดลง (Google Indexed แต่ไม่นำมาแสดงบน SERPs) ดังนั้น หากไม่มีบันทึก ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะไม่จำเป็น (ผมทดสอบแล้ว)
– Review (รีวิว) : กรณีเป็น Business การมีรีวิว จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือต่อธุรกิจของเราได้
– Video (วีดีโอ) : มีก็ดี ไม่มีก็ได้ ไม่จำเป็น … ขึ้นอยู่กับธุรกิจ แบรนด์ และเนื้อหาของเพจ
– App (แอฟต่างๆ เช่น HTML Static) : มีไว้เหมือนเป็น “Call to Action” เพื่อช่วยสร้าง Conversion Rate เท่านั้น แต่ไม่จำเป็น (จริงๆนะ)
การทำ Offpage SEO เบื้องต้น ให้กับ Facebook Page
เฉกเช่นเดียวกันกับ การทำ SEO เว็บไซต์ทั่วไป ที่เราจำเป็นต้องทำทั้ง Onpage และ Offpage ลำพังการปรับแต่ง Onpage + Content ที่มีคุณภาพ เพียงอย่างเดียว อาจจะเพียงพอในกรณีคู่แข่งไม่มาก แต่หากมีคู่แข่งจำนวนมากและมีคุณภาพสูงด้วยแล้ว ตัวชี้วัดที่สำคัญก็คือ การโปรโมท / หา Traffic / สร้าง Backlinks / การลงโฆษณา ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เราทำนอกแฟนเพจ (เค้าจึงเรียกมันว่า Offpage)
ผมขอยังไม่ลงรายละเอียดในเรื่องของ Offpage ในบทความนี้ แต่ Key Concept ของ Offpage เบื้องต้น ให้กับแฟนเพจนั้น ก็เช่นเดียวกับเว็บไซต์ นั่นก็คือ รู้จักหา Traffic การโปรโมทให้มีคนเข้าเว็บ การทำให้มีคนรู้จักเว็บ เพียงแต่เราเปลี่ยนจากเว็บ เป็น FB Fan Page นั่นเอง ไม่ว่าจะโปรโมทด้วย “Branding” หรือ “Linking” ก็ตาม (วางลิงค์ ก็ใช้ URL Link ของเฟสเพจแทนเว็บ)
#Tip : การ ฝากเพจ ถือเป็น การโปรโมท เป็น Offpage SEO ช่องทางหนึ่ง ด้วยการวางลิงค์เพจของเราในเพจอื่นๆ ถ้าคุณฉลาด ควรฝากเพจกับเพจอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพจของเรา หรือมีแนวโน้มที่เมื่อฝากเพจแล้ว จะมีคนเข้ามาดู และถ้าให้เหนือชั้นกว่านั้น คุณไม่ควรจะฝากเพจแบบตรงๆ หากแต่ใช้เทคนิค “Comment” แบบเนียนๆ ด้วยการ ให้คำแนะนำ/ตอบคำถาม/ช่วยแก้ปัญหา แก่ผู้ติดตามของเพจอื่นๆ แล้วแนบลิงค์เพจเราลงไป
ทำ SEO ให้กับ Facebook Page แล้วทำไมถึงไม่ติดอันดับ ?
สำหรับคำถามนี้ ถ้าถามแบบจริงจัง ก็ขอตอบแบบจริงใจว่า หาคำตอบแบบระบุเจาะจงไม่ได้หรอกครับ
เพราะมันอาจจะเป็นไปได้จากหลายๆสาเหตุ ต้องดูทั้งจากตัวเรา เปรียบเทียบกับคู่แข่ง เช่น
– Facebook คู่แข่งทำได้ดีกว่าเรา
– Facebook คู่แข่งมีเนื้อหาและองค์ประกอบต่างๆที่มีความสอดคล้องกับ Keyword มากกว่าเรา
– Facebook คู่แข่งอาจจะเปิดนานกว่าเรา
– Facebook คู่แข่งมีการแชร์ ถูกกล่าวถึง มีการ Engagement หรือ คนเห็นมากกว่า เพจของเรา
– Facebook คู่แข่งอาจจะมี การอ้างอิงจากเว็บไซต์อื่นๆที่เกี่ยวข้องมากกว่าเพจของเรา
– Facebook คู่แข่งอาจจะมีการโปรโมท การทำ Offpage SEO ที่ดีกว่าเรา
ถ้า Facebook Page อันดับหาย มีวิธีแก้ไขอย่างไร ?
– ลองปรับ Facebook Onpage ใหม่ แก้ไข ตั้งแต่ Page Title / Page Info / In-Post Edit
– ลองอัพรูปภาพเพิ่มเติมเข้าไป (อัพรูปอะไร อันนี้ ถามตัวคุณเองดู เด้วนี้หารูปไม่ยาก มือถือถ่ายเลยครับ)
– ลองดูคู่แข่งเพจอื่น ใน Keyword เดียวกัน ที่เค้ายังติดอันดับอยู่ แล้วลองเปรียบเทียบกับเพจของเรา
– หมั่นขยันอัพเดทโพส มากกว่าเดิม (ดูความถี่โพสของคู่แข่ง เอาให้เท่า หรือ มากกว่า)
– หากทำยังไง ก็กู้กลับมาไม่ได้ ผมแนะนำให้คุณ ควรไปทำ SEO กับ Website แทนครับ
– หรือแนะนำให้ ลงโฆษณา Facebook Ads / Google Adword หากมีงบประมาณ
บทสรุป
สามารถกล่าวได้ว่า ณ ปัจจุบัน หัวใจสำคัญของ การทำ Facebook Fan Page ให้ติดอันดับบน Google ก็คือ การทำให้เพจของเราดูมีคุณภาพสูงที่สุดสำหรับ Keyword นั้นๆ ในสายตาของ Google นั่นเอง และการจะทำอย่างนั้นได้ ก็ต้องอาศัย
1. การทำ Facebook Onpage SEO ให้เพจของเราอย่างดีที่สุด เพื่อส่งสัญญาณให้ Google รู้
2. หมั่นดูแล อัพเดทเพจ ให้มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง สร้าง Engagement สร้าง Trustworthy
3. รู้จักโปรโมทเพจ ให้คนรู้จัก ให้คนเห็น (ทั้งแบบเสียเงินและไม่เสียเงิน) เพื่อสร้าง Traffic
โดยทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวอธิบายข้างต้นนั้น เป็นเพียงแต่แนวทาง หรือ หลักการ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจ Facebook SEO ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เป็นตัวเรียนรู้ที่ดีที่สุด ก็คือ การลงมือทำด้วยตัวคุณเอง โดยหมั่นคอยสังเกตเพจของคู่แข่ง หรือเพจอื่นๆที่เค้าติดอันดับ แล้วนำมาเป็นไอเดีย เอามาปรับใช้พัฒนาการทำ SEO รวมถึง การทำการตลาด โดยใช้ Facebook ในธุรกิจของคุณต่อไป
หมายเหตุ :
#ผมไม่รับทำ SEO นะครับ ถ้ารับทำ คงจะไม่มาเขียนบทความอธิบายละเอียดแบบนี้
#อยากให้คุณอ่าน ทำความเข้าใจ และพยายามไปลองหัดทำด้วยตัวเอง (จะได้ประหยัดตังนะ 555+)
#คนที่จะดูแล อัพเดท Facebook Page ได้ดีที่สุด คือคนที่รู้และเข้าใจธุรกิจของคุณดีที่สุด
#ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน .. นอกเสียจาก “ตัวคุณเอง”
#หากคุณอ่านจบและเห็นว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อคนที่คุณรู้จัก ช่วยแชร์ต่อด้วยนะครับ :)
JoJho
คนทำเว็บนอกคอก
ในเรื่องของ Facebook Page นั่นจริงๆ ยังมีอีกมายมาย เช่น การนำมันมาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจ , การทำ Intenet Tribe , การใช้ Facebook Page ในการหา Traffic เพื่อช่วยเรื่อง SEO เป็นต้น … แต่วันนี้ ขอโฟกัสไว้ที่ การทำ SEO กับ Facebook Page ก่อนนะ ส่วนเรื่องอื่นๆ ไว้จะมาแนะนำกันในโอกาสต่อไปครับ
(รู้สึกบทความนี้ยาวเกินสำหรับบล็อก ไปเขียนเป็น Ebook ขายดีมั๊ย ^_^ ใครจะซื้อ ?)
ที่มา http://www.webbastard.net/seo-facebook-page-guide/
Thursday, 26 November 2015
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment