Wednesday, 20 April 2016

7 ข้อแนะนำ เปิดสัญญาณ WiFi อย่างไร ไม่โดนล้วงข้อมูลส่วนตัว

WiFi เครือข่ายไร้สายที่มาพร้อมกับอุปกรณ์สื่อสาร
สมาร์ตโฟนที่เพื่อนๆ ถืออยู่ในมือ และมักจะแชร์สัญญาณ WiFi ให้กันและกันเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จุดนี้ อาจมีช่องโหว่ให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาล้วงข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้ในทางที่ ไม่มี ดังนั้น เพื่อความมั่นคงปลอดภัยลองทำตาม 7 ข้อแนะนำนี้กัน

แหล่งรวมโปรแกรม
7 ข้อแนะนำ เปิดสัญญาณ WiFi อย่างไร ไม่โดนล้วงข้อมูลส่วนตัว

1. ควรเลือกซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายที่มีความน่าเชื่อถือ โดยให้เลือกที่มีสัญลักษณ์ Wi-Fi
CERTIFIED ประทับอยู่
2. อัพเดตซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่ายไร้สายให้ใหม่อยู่เสมอ ช่วยป้องกันช่องโหว่ที่ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น
3. เปิดให้บริการ Firmware เพื่อป้องกันการบุกรุกจากภายนอก การตั้งค่ารหัสผ่าน หรือ Passphrase ในการเข้าถึงการใช้งาน โดยควรมียาวมากกว่า 20 ตัวอักษร และหลีกเลี่ยงการใช้คำที่มีอยู่ในพจนานุกรม ที่คาดเดาได้ง่าย
4. เปิดโหมดยืนยันรหัสผ่านเครือข่ายไร้สาย โดยการเลือกใช้รหัสลับสัญญาณแบบ WPA2 และการเข้ารับรหัสข้อมูล AES และไม่ใช้การเข้ารหัสลับแบบ WEP เด็ดขาด เพราะปัจจุบันผู้โจมตีเครือข่ายการใช้รหัสลับแบบ WEP เพื่อแกะรอยรหัสผ่านได้โดยง่าย
5. ปรับแก้ไขค่าตั้งต้นของการให้บริการเครือข่ายไร้สาย เพราะผู้โจมตีส่วนมากจะพุ่งเข้ามาที่ค่าตั้งต้นจากโรงงานผลิต เพื่อโจมตีเครือข่าย ได้แก่ การปลี่ยนแปลงรหัสผ่านจากรหัสตั้งต้นที่มาจากโรงงาน, ปรับเปลี่ยนชื่อ SSID ของเครือข่ายไร้สาย, ปิดโหมดการเผยแพร่สัญญาณ เพื่อป้องกันคนทั่วไปมองเห็นเครือข่ายได้โดยง่าย
6. ใช้งานฟังก์ชั่นการคัดกรองจากหมายเลข MAC Address ของเครื่องผู้ใช้งาน เพื่อจำกัดการเข้าใช้งานจากผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
7. ปิดการใช้งานของ DHCP Server ในการกำหนดหมายเลข IP Address ให้แก่เครื่องที่เชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย โดยให้กำหนดเป็น Static IP ที่เครื่องผู้ใช้งานเอง เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่หวังดีลักลอบเข้าถึงเครือข่ายไร้สายได้อย่างง่ายดาย โดยหากสามารถเจาะรหัสผ่านในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ แต่จำเป็นต้องคาดเดากลุ่มของ IP Address เป้าหมายอีกขั้นหนึ่งทั้งหมดนี้คือข้อควรปฏิบัติดีๆ ที่ช่วยป้องกันภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากทำตามอย่างเคร่งครัด รับรองได้เลยว่าอัตราการถูกโจมตีจะต้องลดลงอย่างแน่นอน
ขอบคุณบทความจาก flashfly

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment